การเลือกใช้ฟิล์มเซรามิคสำหรับติดฟิล์มรถยนต์และอาคารแบบง่ายๆ
- NARONGSAK KANCHANASARATOOL
- Oct 17, 2017
- 1 min read

เนื่องจากประเทศไทยมีสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นมีความจำเป็นต้องใช้ฟิล์มกรองแสงติดกระจกรถยนต์และอาคาร แต่เนื่องจากมีความแตกต่างกันในการใช้งานระหว่างอาคารและรถยนต์ ดังนั้นควรรู้วิธีในการเลือกฟิล์มกรองแสงสำหรับติดฟิล์มรถยนต์และอาคารให้เหมาะสม ฟิล์มกรองแสงมีหลายประเภทเช่น ฟิล์มปรอท ฟิล์มนิรภัย แต่ในปัจจุบันฟิล์มกรองแสงชนิดใหม่ที่เรียกว่าฟิล์มเซรามิคกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยประสิทธิภาพในการลดความร้อนที่ดี มีความใสสว่างสวยงาม รวมไปถึงเงาสะท้อนที่น้อยกว่าฟิล์มปรอท แต่ฟิล์มเซรามิคก็มีหลากหลายประสิทธิภาพให้เลือก บทความต่อไปนี้จะมาสรุปถึงข้อควรรู้ในเลือกฟิล์มเซรามิคสำหรับติดฟิล์มรถยนต์และอาคาร เพื่อให้ตรงตามความต้องการและได้ประสิทธิภาพในการลดความร้อนสูงสุด
แสงแดดที่มายังโลกจะมีรังสีที่มีผลต่อความร้อนประกอบไปด้วย รังสียูวี 3% แสงสว่าง 44% และรังสีความร้อนอินฟาเรด 53% โดยประมาณ เวลาเลือกฟิล์มเซรามิคอย่างง่าย มีค่าที่ควรสังเกตุดังต่อไปนี้ 1. ค่าลดรังสีอินฟาเรด 2. ค่า SHGC 3. ค่าลดความร้อนรวม 4. ค่าแสงส่องผ่าน และ 5. ค่าการลดรังสียูวี
1. ค่าลดรังสีอินฟาเรด เป็นค่าการลดรังสีความร้อนในช่วงอินฟาเรดของแสงอาทิตย์ช่วง 780-2500 นาโนเมตร โดยเฉพาะรังสีอินฟาเรดในช่วง 900-1400 นาโนเมตรเป็นรังสีที่มีผลต่อระบบประสาทรับความรู้สึกร้อนที่ผิวหนังมาก ดังนั้นหากฟิล์มใดสามารถลดรังสีอินฟาเรดในแสงแดดในช่วงนี้ได้สูงจะทำให้รู้สึกเย็น โดยทั่วไปในการสาธิตการวัดค่ารังสีอินฟาเรดเพื่อความสะดวกจะวัดแค่บางจุดเท่านั้น เช่น ที่ 900 หรือ 1400 นาโนเมตร การติดฟิล์มรถยน์ ควรเลือกฟิล์มเซรามิคที่ลดรังสีอินฟาเรดทั้ง 2 จุดมากกว่า 90% ฟิล์มเซรามิค ECOBLUE ลดรังสีอินฟาเรดที่ 1400 นาโนเมตรได้มากกว่า 95%
2. ค่า SHGC หมายถึงความร้อนจากแสงแดดที่ผ่านกระจกติดฟิล์มเข้ามา ค่านี้จะรวมไปถึงค่าความร้อนที่กระจกอมความร้อนเอาไว้แล้วคายความร้อนออกมาภายหลังด้วย โดยปรกติฟิล์มเซรามิคจะมีค่า SHGC จะอยู่ระหว่าง 0.5-0.3 ยิ่งค่า SHGC สำหรับฟิล์มรถยนต์ใช้ประมาณ 0.4-0.3 สำหรับฟิล์มอาคาร ประมาณ 0.5-0.35
3. ค่าลดความร้อนรวม คือค่าความร้อนจากแสงแดดที่กระจกติดฟิล์มลดได้ หรือมีค่าเท่ากับ 1-SHGC ค่าการลดความร้อนรวมที่ต่ำกับฟิล์มที่ติดแล้วรู้สึกเย็น ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน เพราะฟิล์มที่มืดมากๆแต่กันอินฟาเรดได้น้อย อาจให้ค่าลดความร้อนรวม ได้เท่ากับ ฟิล์มสว่างแต่ลดอินฟาเรดได้มาก แต่เลือกฟิล์มที่กันอินฟาเรดได้มาก จะได้ความรู้สึกที่เย็นกว่า
4. ค่าแสงส่องผ่าน หรือแสงสว่าง แสงสว่างสามารถเปลี่ยนเป็นความร้อนได้ภายหลัง ในการติดฟิล์มรถยนต์ ฟิล์มเซรามิคมีข้อดีคือแสงสะท้อนน้อย สำหรับฟิล์มบานหน้าควรเลือกฟิล์มเซรามิคที่มีความสว่างในระดับปลอดภัยต่อการขับขี่ในเวลากลางคืน เช่น ecoblue max 40 หรือ 60 สำหรับการติดฟิล์มอาคารสามารถเลือกความสว่างมากเช่น ecoblue max 60 เพื่อให้เห็นภายในอาคารได้ชัดเจน หรือ 40 เพื่อช่วยตัดแสงจ้าลดการเมื่อยล้าของสายตา
5. ค่าการลดรังสียูวี
ในแสงแดดมีรังสียุวีแบ่งได้เป็น UVA UVB, UVC ในแสงแดดที่ตกลงมาบนพื้นโลกมี UVC น้อยมาก เหลือแต่ UVB ประมาณ 20 % แต่มีรังสี UVA ถึง 70% ซึ่งรังสี UVB ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ส่วน UVA ทำให้ผิวเสื่อมสภาพหรือแก่ก่อนวัย แต่ฟิล์มกรองแสงโดยทั่วไปสามารถกันรังสี UVB ได้ดีอยู่แล้ว แต่ไม่สามารถกันรังสี UVA ได้ จะมีฟิล์มเซรามิคบางรุ่น เช่น ฟิล์มเซรามิค MAX UV ที่สามารถลดได้ทั้งรังสี UVA และ UVB
ในบทสรุปของการเลือกใช้ฟิล์มเซรามิคสำหรับติดฟิล์มรถยนต์และอาคารแบบง่ายๆ คือเลือกค่าลดรังสีอินฟาเรดให้เกิน 95% ค่า SHGC ต่ำประมาณ 0.3-0.4 และค่าลดความร้อนรวมสูง ค่าแสงสว่างที่เหมาะสมกับการใช้ระหว่างคือความสว่าง 40-60% และสามารถลดรังสี UVB และ UVA ได้ดี หากต้องการความปลอดภัยสามารถใช้ฟิล์มนิรภัยได้ การเลือกฟิล์มเซรามิคที่ดี เช่น ฟิล์มเซรามิค ECOBLUE รุ่นต่างๆจะช่วยลดการอ่อนล้าจากอากาศร้อนในการขับขี่หรือการพักอาศัย ปกป้องผิว ช่วยประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายในการทำความเย็น และช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องเรือนได้เป็นอย่างดี หากต้องการคำแนะนำในการเลือกใช้ฟิล์มเซรามิคสำหรับด้านต่างๆสามารถติดต่อบริษัทแอทซิส จำกัดได้ที่ atsyscompany@gmail.com หรือ LINEAD: @atsyscompany
Kommentare